|
ทนายโจทก์ร่วมได้ต่อใบอนุญาตให้เป็นทนายความวันเดียวกับวันบัตรหมดอายุ คือ วันที่ 19 ธันวาคม 2560 ทนายโจทก์ร่วมจึงยังคงเป็นทนายความให้แก่โจทก์ร่วมได้ เห็นว่า ทนายโจทก์ร่วมยื่นใบแต่งทนายเข้ามาในคดีเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2560 โดยแนบสำเนาบัตรประจำตัวสมาชิกสภาทนายความซึ่งระบุวันบัตรหมดอายุ 19 ธันวาคม 2560 ทนายโจทก์ร่วมได้ดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ร่วมมาตลอดจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาและทนายโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2560 ซึ่งเป็นวันที่ภายหลังบัตรหมดอายุ ทั้งทนายโจทก์ร่วมยังยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีกเป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2561 และครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งครั้งนี้ศาลชั้นต้นเห็นว่า ไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตและยกคำร้อง อันเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดังนั้น จึงมีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมเพียงว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ร่วมหรือไม่ ไม่มีประเด็นว่าใบอนุญาตให้เป็นทนายความของทนายโจทก์ร่วมหมดอายุแล้ว ทนายโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนโจทก์ร่วม หากศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องการหยิบยกว่าใบอนุญาตให้เป็นทนายความของทนายโจทก์ร่วมหมดอายุแล้ว ทนายโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนโจทก์ร่วม โดยเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 สมควรฟังข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายให้แน่ชัดเสียก่อนว่าทนายโจทก์ร่วมได้มีการต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นทนายความหรือไม่ ซึ่งปรากฏว่าหลังจากใบอนุญาตให้เป็นทนายความหมดอายุลงแล้ว ทนายโจทก์ร่วมยังยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีก 3 ครั้ง และยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และคำฟ้องอุทธรณ์ อันเป็นข้อบ่งชี้ว่าทนายโจทก์ร่วมน่าจะต่อใบอนุญาตให้เป็นทนายความแล้ว ประกอบกับทนายโจทก์ร่วมเข้าดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ร่วมมาตลอด และเมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฏว่าทนายโจทก์ร่วมได้แสดงหลักฐานว่ามีการต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นทนายความแล้วจริง โดยบัตรประจำตัวสมาชิกสภาทนายความระบุวันออก 19 ธันวาคม 2560 วันหมดอายุ 19 ธันวาคม 2562 ซึ่งเป็นเวลาต่อเนื่องจากบัตรเดิม อีกทั้งเลขหมายใบอนุญาตให้เป็นทนายความ 2609/2546 ก็ยังคงเป็นเลขหมายเดิม ทนายโจทก์ร่วมจึงมิใช่เป็นผู้ที่ขาดจากการเป็นทนายความและมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 แทนโจทก์ร่วมได้ ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ยกอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมและยกคำสั่งของศาลชั้นต้นในคำร้อง ของทนายโจทก์ร่วมเริ่มตั้งแต่ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2560 เป็นต้นมาทุกคำสั่งนั้น เป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ฎีกาของโจทก์ร่วมฟังขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ทั้งพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นควรพิจารณาประเด็นตามอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมว่า มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ร่วมหรือไม่ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาคดีใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208 (2) และมาตรา 225 เห็นว่า หลังจากศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาและทนายโจทก์ร่วมได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 1 แล้ว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 ทนายโจทก์ร่วมได้ยื่นคำร้องขอคัดถ่ายคำพิพากษาศาลชั้นต้นและเอกสารในสำนวน ต่อมาวันที่ 20 ธันวาคม 2560 ทนายโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 2 โดยอ้างเหตุว่าเพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาและเอกสารในสำนวน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ วันที่ 18 มกราคม 2561 ทนายโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 3 โดยอ้างเหตุว่ายัง (ที่ถูกน่าจะเป็น เพิ่ง) ได้รับสำเนาคำพิพากษาและเอกสารในสำนวน ศาลชั้นต้นอนุญาตโดยระบุกำชับว่าเป็นครั้งสุดท้าย วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 ทนายโจทก์ร่วมกลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีกเป็นครั้งที่ 4 โดยอ้างเหตุว่าเพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาและเอกสารในสำนวน ซึ่งเป็นเหตุเดียวกันกับที่เคยอ้างในการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 เมื่อพิจารณาว่านับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งสุดท้ายนั้น เป็นเวลาพอสมควรแล้ว แต่ทนายโจทก์ร่วมไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาทั้ง ๆ ที่ศาลชั้นต้นได้สั่งกำชับว่าอนุญาตเป็นครั้งสุดท้าย กรณีดังกล่าวถือว่าเป็นความบกพร่องของทนายโจทก์ร่วมเอง มิใช่พฤติการณ์พิเศษแต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ร่วมขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 และยกคำร้องนั้น ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และยกคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 ของโจทก์ร่วม
บทความที่น่าสนใจ-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่ -ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก -การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม -การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร -เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น -ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร -ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม -ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้ -การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน -เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร -การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ -คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้ -ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้ -ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร -ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ -หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่ -การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด -ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่ -ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร -คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว -การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่
|